ห้องสมุดในอนาคต: จากกองหนังสือสู่สวนสนุกมัลติมีเดีย

หลายคนทำนายว่าการเกิดหนังสือดิจิตัลจะเป็นจุดสิ้นสุดของห้องสมุด แต่ดูเหมือนความจริงจะกลับตรงข้าม ในระยะหลายปีที่ผ่านมานี้ ปรากฏว่ามีการสร้างห้องสมุดขนาดใหญ่ในที่ต่างๆ ทั่วโลกเพิ่มขึ้นแทนที่จะน้อยลง แม้ว่าจุดเน้นของห้องสมุดเหล่านั้นจะไม่ใช่ “การเก็บหนังสือ” แบบดั้งเดิมอีกต่อไปแล้วก็ตาม
ตัวอย่างของห้องสมุดสมัยใหม่เหล่านี้ เช่น Rolex Learning Center ซึ่งเป็นห้องสมุดใหม่ของสหพันธ์สถาบันเทคโนโลยีแห่งสวิตเซอร์แลนด์ ณ เมืองโลซานน์ มีลักษณะเป็นสิ่งก่อสร้างแนวอนาคต ถูกออกแบบให้เป็นตลาดความคิดมากกว่าที่เก็บหนังสือแบบดั้งเดิม ในห้องสมุดมีคาเฟ่ ร้านขายโปสการ์ด การ์ตูน และ หนังสือพิมพ์หลากภาษา มีห้องอาหารชั้นดี มีทางขึ้นลงสำหรับคนพิการอย่างเพียบพร้อม ตบแต่งภายในด้วยเก้าอี้บีนส์แบ็คหลากสี ทั้งหมดนี้ตั้งใจจะสร้างขึ้นเพื่อส่งสารถึงผู้มาเยือนว่าการเรียนรู้นั้น สนุกสนาน หาใช่ภาระน่าเบื่อหน่ายไม่
Winfried Nerdinger ศาสตราจารย์ด้านประวัติศาสตร์สถาปัตย์แห่งมิวนิค กล่าวว่าไม่เคยมียุคสมัยใด
ที่มีการสร้างห้องสมุดมากเท่ายุคนี้ อย่างไรก็ตาม ในยุคปัจจุบันมีกระแสใหม่ คือ เมืองต่างๆ มักนิยมสร้าง
ห้อง สมุดขนาดใหญ่ทันสมัย เพื่อแสดงให้เห็นความมุ่งมั่นที่จะไปสู่อนาคต ผู้สร้างมักเป็นสถาปนิกมีชื่อเสียงอันดับต้นๆ ซึ่งมีแนวคิดหลากหลาย ตั้งแต่ห้องสมุดทรงโค้งรังผึ้งหน้าตาคล้ายอะมีบา ภายในสีลูกกวาด ที่เมืองคอตต์บัส ประเทศเยอรมัน ห้องสมุดแห่งชาติที่จีน ซึ่งมีส่วนต่อเติมใหม่ซึ่งดูราวกับลอยได้ เพราะส่วนล่างเป็นฐานแก้ว และห้องสมุดแห่งอเล็กซานเดรียซึ่งเป็นพระราชวังไฮเทคขนาดยักษ์ เก็บรักษาหนังสือดิจิตัล โดยแทบไม่มีหนังสือเล่มอยู่เลย

กระแสห้องสมุดใหม่นี้มาพร้อมกับความนิยมอีบุ๊ค มีรายงานว่า ปัจจุบันบริษัทอเมซอน ยักษ์ใหญ่ในวงการค้าหนังสือของอเมริกาขายอีบุ๊คได้มากกว่าหนังสือธรรมดา แล้ว กระแสดังกล่าวส่งผลให้ห้องสมุดแปลงจากปราการเก็บหนังสือไปสู่ศูนย์แห่ง ประสบการณ์เรียนรู้สมัยใหม่ ดังที่ David Aymonin ผู้ดูแลการก่อสร้างศูนย์โรเล็กซ์กล่าวว่า “เราตั้งใจจะสร้างดิสนีแลนด์แห่งความรู้ พวกเราบรรณารักษ์ไม่ได้ดูแลหนังสือมากเท่าดูแลผู้ใช้อีกแล้ว”
แน่นอนว่าห้องสมุดแต่ละแห่งย่อมมีแนวคิดต่างกัน ขณะที่ศูนย์เรียนรู้โรเล็กซ์เป็นห้องสมุดเปิดเป็น
ศูนย์ พบปะ ก็ยังมีห้องสมุดใหม่ๆ อย่าง Grimm Center ที่มหาวิทยาลัย Humblodt ณ กรุงเบอร์ลิน ซึ่งเน้นออกแบบเพื่อสร้างบรรยากาศแห่งการครุ่นคิด ความสงบ และสมาธิ กระนั้น แม้แต่ห้องสมุดแห่ง
การครุ่นคิดแห่งนี้ก็ยังมีจุดเด่นเป็นโต๊ะทำงานพร้อม wi-fi สามร้อยเครื่อง
หากจะถามว่า ในเมื่อทุกอย่างเป็นดิจิตัลไปหมดแล้ว ทำไมยังต้องการห้องสมุดอยู่อีกเล่า ก็ต้องตอบว่า ในที่สุดแล้ว ผู้ใช้ก็ยังคงต้องมีที่ให้อ่านหนังสือ ห้องสมุดวิชวลไม่อาจอยู่ได้โดยไม่มีตัวอาคาร เพราะร้านกาแฟมักจะต่อเน็ตลำบาก จะอ่านกับแลปทอปกลางแจ้ง แสงก็สะท้อนจอจนมองไม่เห็น การมีหนังสือดิจิตัลมากขึ้น จึงส่งผลให้ยิ่งต้องมีการสร้างที่อ่านหนังสือสาธารณะเพิ่มขึ้นด้วย
นอกจากนั้น ห้องสมุดอย่างศูนย์โรเล็กซ์ยังเป็นที่ศึกษาเพื่อหาทางอำนวยความสะดวกในวัฒนธรรม
การอ่านหนังสือแบบใหม่ด้วย Frederic Kaplan ผู้ทำการวิจัยเรื่องการอ่านในอนาคตร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ
ทาง การศึกษาและโปรแกรมเมอร์ที่ศูนย์โรเล็กซ์ กล่าวถึงปัญหาของการเรียนรู้โดยอ่านจากแลปทอปว่า “ถ้ามีหนังสืออยู่ตรงหน้าก็ถกกันง่าย แต่จอของแลปทอปกลับบังสายตาคนออกจากกัน การเรียนด้วยการอ่านหนังสือนั้นใครๆ ก็ทำเองได้ แต่การนำมาใช้จริงต้องเรียนด้วยการถกกับคนอื่น”

เมื่อเป็นเช่นนี้ ศูนย์โรเล็กซ์จึงพยายามคิดค้นนวัตกรรมเพื่อสนับสนุนการถกเถียงอภิปรายและ
บูรณาการ ทางปัญญา พวกเขาทดลองสร้างหุ่นยนต์ที่สามารถส่งรูปและข้อความลงไปที่แลปทอปพร้อมๆ กันหลายเครื่องได้ โดยมีเป้าหมายสูงสุดว่าจะสร้างเครื่องมือที่ทำให้ผู้คนทั้งกลุ่มสามารถเรียน รู้ไปพร้อมกัน โดยแต่ละคนจะได้รับข้อมูลเดียวกัน และสามารถถกเถียง แก้ไข หรือปรับปรุงข้อมูลนั้นโดยผู้ใช้ทุกคนจะเห็นการเปลี่ยนแปลงไปพร้อมกัน
“เราต้องการให้ ‘คอมพิวเตอร์ระหว่างบุคคล’ มาแทนที่ ‘คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล’ ด้วย” แคปแลนกล่าว “ที่นี่ เราศึกษาว่าจะบ่มเพาะการอภิปรายทางปัญญาได้อย่างไร”
Spiegel Online International
http://www.spiegel.de/international/europe/0,1518,791138,00.html